วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลือกตั้งประนาธิปดี สหรัฐอเมริกา

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 มีกำหนดจัดการเลือกตั้งในวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2012 ตามเวลาในท้องถิ่น ซึ่งเป็นตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกๆ 4 ปีจะจัดการเลือกตั้ง 1 ครั้ง โดยครั้งนี้นับเป็นการจัดการเลือกตั้งครั้งที่ 57
สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 57 นี้ บารัค โอบาม่า จาก พรรคเดโมแครก ได้ลงสมัครชิงเก้าอี้ตำแหน่งเดิมเป็นสมัยที่ 2 โดยมีคู่แข่งคนสำคัญคือ มิตต์ รอมมีย์ จาก พรรครีพลับลีกัน นอกจากผู้สมัครรายใหญ่ทั้ง 2 คนแล้ว ยังมีผู้สมัครคนอื่นๆ ได้แก่ แกรี่ จอห์นสัน จาก พรรคลิเบอร์ทาเรียน , จิล สตีนน์ จาก พรรคกรีน , เวอร์กิล กู๊ดด์ จาก พรรคคอนซิททูชั่น และ ร็อกกี้ แอนเดอร์สัน จาก พรรคจัสติส
ส่วนการนับผลการเลือกตั้ง ประชาชนจะทราบผลงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 ธันวาคม 2012 ซึ่งจะแบ่งผลออกเป็น 2 แบบ คือ ป๊อปปูล่าร์ โหวต และ อีเล็กทรอรอล โหวต เนื่องจากการเลือกประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ใช่การเลือกตั้งโดยตรง แต่ประชาชนจะเลือกผู้แทนของพวกเขา เข้าไปเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งจากประชาชนจึงเหมือนเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม ซึ่งผลสุดท้ายต้องได้ อีเล็กทรอรอล โหวต มากกว่า 270 โหวต หรือเท่ากับ
ขณะที่กติกาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ยังได้กำหนดไว้ว่า ผู้ชนะได้ไปทั้งหมด หมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนในมลรัฐนั้นๆ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด ดังนั้นหากมลรัฐใดมีจำนวนผู้เลือกตั้งมาก ก็ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย (55 ที่) รัฐเท็กซัส (34 ที่) รัฐนิวยอร์ก (31 ที่) หรือ รัฐฟลอริด้า (27 ที่) เป็นต้น
ภายหลังจากการทราบผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ พิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ ก็จะมีขึ้นในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป โดยประธานาธิบดีคนเดิมจะดำรงตำแหน่งอยู่จนเวลาเที่ยงวันของวันนั้น

นับถอยหลังเดือนกว่าก่อนถึงศึกชิงชัยประธานาธิบดีสหรัฐ 2012 ผลการหยั่งเสียงพบว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามาเริ่มมีคะแนนนำมิตต์ รอมนีย์ ในรัฐ Swing States หรือรัฐที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ของพรรคใดพรรคหนึ่งชัดเจน
คุณลักษณะจำเพาะของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐคือ บางรัฐจะผูกขาดกับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ชนิดว่าพรรคส่งผู้สมัครคนใดก็แทบจะ “นอนมา” ทำให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี มักไม่ให้ความสำคัญกับการหาเสียงในรัฐเหล่านี้ แต่กลับไปมุ่งความสนใจกับรัฐ Swing States ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังไม่ตัดสินใจตายตัวว่าจะเลือกผู้สมัครคนใดแทน
และแน่นอนว่าในการเลือกตั้งครั้งที่คะแนนเสียงสูสี เวทีตัดสินผู้ชนะมักเป็นรัฐ Swing States เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2000 ระหว่างจอร์จ ดับเบิลยู บุช กับอัล กอร์ ที่ต้องไปตัดสินกันที่รัฐฟลอริดา หรือการเลือกตั้งในปี 2004 ระหว่างบุชกับจอห์น เคอร์รี ที่ไปตัดสินกันในรัฐโอไฮโอ
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2008 แสดงว่าพรรคใดชนะในรัฐ Swing States บ้าง (ภาพจาก Wikipedia)
สำหรับการเลือกตั้งในปี 2012 ระหว่างโอบามากับรอมนีย์ ผลการหยั่งเสียงในรัฐ Swing States พบว่าผู้สมัครทั้งสองคนมีคะแนนสูสีกันมาโดยตลอด แต่เมื่อนับช่วงปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา คะแนนเสียงของโอบามาเริ่มฉีกหนีจากรอมนีย์ได้มากขึ้น แม้ว่าจะยังทิ้งห่างรอมนีย์ไม่มากนัก แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีต่อแคมเปญหาเสียงของโอบามา
คะแนนหยั่งเสียงในรัฐโอไฮโอ โอบามานำอยู่ด้วยคะแนน 53:43 ส่วนรัฐฟลอริดาคือ 53:44 และรัฐเพนซิลวาเนียอยู่ที่ 54:42 (คะแนนกลุ่มที่เหลือคือคนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกประธานาธิบดีคนใดคนหนึ่ง)
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ รัฐที่ถูกประเมินว่าเป็น Swing States มีเพียง 9 รัฐคือ โคโลราโด ฟลอริดา ไอโอวา เนวาดา นิวแฮมป์เชียร์ นอร์ธแคโรไลนา โอไฮโอ เวอร์จิเนีย วิสคอนซิน
รัฐที่เลือกพรรคเดโมแครตหรือ Blue States มีคะแนนเสียงสำหรับเลือกประธานาธิบดี (electoral vote) อยู่ 237 คะแนน ส่วนรัฐที่เลือกพรรครีพับลิกันหรือ Red States มี 191 คะแนน ส่วนรัฐ Swing States มีคะแนนเสียงรวมกันที่ 110 คะแนน ผู้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีต้องมีคะแนนอย่างน้อย 270 คะแนน